วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แก๊สพิเศษ



แก๊สพิเศษ

แก๊สพิเศษ หรือแก๊สความบริสุทธิ์สูงเพื่อใช้กับงานวิเคราะห์ วิจัยในห้องปฏิบัติการ เช่น ใช้กับเครื่อง GC(gas chromatography)  เครื่อง ICP (Inductively Coupled Plasma Spectrometer) เครื่อง Nitrogen Evaporator แก๊สที่ใช้จึงจำเป็นต้องเป็นแก๊สพิเศษ มีความบริสุทธิ์สูง ได้แก่ อาร์กอน High Purity (Ar HP) หรือ อาร์กอน Ultra High Purity (Ar UHP) แก๊สไนโตรเจน High Purity (N2 HP) หรือ ไนโตรเจน Ultra High Purity (N2 UHP) เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อ๊อกซิเจน "Oxygen"



Oxygen : อ๊อกซิเจน
อ๊อกซิเจน หรือ Oxygen (O2) เป็นแก๊สที่ถูกทดลองจากความสัมพันธ์ระหว่างการสันดาปและ อากาศ อ๊อกซิเจน ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักเภสัชศาสตร์ Carl Wilhelm Scheele ผู้ผลิตอ๊อกซิเจน โดยการทำให้ปรอทและไนเตรทต่างๆร้อน เขาเรียกแก๊สตัวนี้ว่า “fire air”
ในปี 1774 การทดลองถูกทำขึ้นอีกครั้ง โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ การ สกัดอ๊อกซิเจนถูกวิจัยและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน การผลิตอ๊อกซิเจน มีสองวิธีหลัก วิธีแรกคือการสกัดอ๊อกซิเจนโดยการดูดอากาศบริสุทธิ์แล้วสกัดแยกแก๊สต่างๆจากอากาศ วิธีที่สองคือ การส่งผ่านอากาศที่บริสุทธิ์และแห้งผ่านฐานของการจำเพาะโมเลกุลซึ่งจะกักเก็บไนโตรเจนไว้และปล่อยส่วนที่เป็นอ๊อกซิเจนออกมา
อากาศที่เราหายใจนั้นมีส่วนผสมของอ๊อกซิเจน 21% (ไนโตรเจน 78%) โดยสิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลกนี้เกิดจากอ๊อกซิเจน เพราะสิ่งมีชีวิตบนโลกจะประกอบไปด้วยน้ำ และ 88.9% ของน้ำมาจากอ๊อกซิเจน
คุณสมบัติของอ๊อกซิเจนนั้นคือ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นพิษ ไม่ทำให้ไฟติด แต่ช่วยให้ไฟติดได้ แก๊สอ๊อกซิเจนถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในทางการแพทย์
แก๊สอ๊อกซิเจนเป็นประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยถูกใช้เพื่อช่วยในการรักษาเป็นหลัก เช่น การเพิ่มอ๊อกซิเจนในกระแสเลือดของคนไข้ ช่วยในการหายใจ และ ช่วยในการรักษาโรคต่างๆ อ๊อกซิเจนยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมการบำบัดน้ำเสีย เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำ และลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการรักษาสิ่งแวดล้อม อ๊อกซิเจนยังถูกนำมาใช้ในกระบวนทำความร้อน และการเปลี่ยน glycerol ดิบให้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือก อีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก : wikipedia และ chemicool 
www.sciencegas.com

ไนโตรเจน "Nitrogen"


Nitrogen  :ไนโตรเจน
ไนโตรเจน (
nitrogen)  ถูกค้นพบในปี 1674 โดยนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งสาธิตให้เห็นว่าในอากาศไม่ได้มีธาตุเพียงตัวเดียว หากแต่มีการผสมของธาตุที่แตกต่างกันไป ต่อมาได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวสก๊อตแลนด์ทำการวิจัย เพื่อแยกแก๊สไนโตรเจนออกจากแก๊สตัวอื่นๆในอากาศ

Nitrogen เป็นคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งถูปดัดแปลงมาจากภาษากรีก จากคำที่มีความหมายว่า ไม่มีชีวิตชีวา ปัจจุบัน ไนโตรเจนถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีอีกชื่อว่า OFN ซึ่งย่อมาจาก (Oxygen-Free Nitrogen)
ไนโตรเจน (Nitrogen) หรือ N2 เป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ และ เป็นแก๊สเฉื่อย
ไนโตรเจนเป็นแก๊สที่ใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งการทำ bakery  เครื่องดื่ม  ไอศกรีม อาหารสด อาหารสำเร็จรูปของหวาน ผลไม้ โดยส่วนใหญ่ไนโตรเจนจะถูกใช้ในการถนอมอาหารทำให้อาหารสด ไนโตรเจนยังเป็นแก๊สสำคัญที่ช่วยในการแช่แข็ง การทำความเย็น และยืดอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร
Nitrogen เป็นแก๊สที่ถูกใช้อุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ การผลิตแก้ว โลหะ พลาสติก และปิโตรเคมี ไนโตรเจน สามารถใช้เพื่อไล่ความชื้นออกจากอุปกรณ์ นอกจากนี้ ไนโตรเจนยังถูกใช้ในกระบวนการหล่อเย็น และเป็นแก๊สที่ช่วยในการขึ้นรูปแม่แบบต่างๆได้อีกด้วย 

อ้างอิงข้อมูลจาก  wikipedia และ chemicool 
www.sciencegas.com

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาร์กอน "Argon"



Argon gas : อาร์กอน
อาร์กอน (argon) เป็นแก๊สที่คาดว่าถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ Henry Cavendish ในปี 1785 แต่ไม่มีการกลั่นแยกออกมา จนกระทั่งในปี 1894 นักวิทยาศาสตร์ชาว Scotland 2 ท่านได้แก่ Lord Rayleigh แลพ Sir William ได้ทำการทดลองกำจัดแก๊สออ๊อกซิเจน คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ น้ำ และไนโตรเจน ออกจากตัวอย่างของอากาศ ทั้งสองจึงสรุปว่ามีแก๊สชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนผสมอยู่ในไนโตรเจน แก๊สอาร์กอน ได้ถูกค้นพบอีกครั้งจากการทำการวิจัย ของ H.F. Newall และ W.NHarley ซึ่งทั้งสองได้สังเกตเห็นว่ามีแก๊สในกลุ่มอากาศที่กำลังทำการวิจัยอยู่
แก๊สอาร์กอน(argon) จัดว่าอยู่ในกลุ่มของ Noble gases และมี สัญลักษณ์ว่า Ar ซึ่งมาจาก Argon โดยสัญลักษณ์นี้ได้ถูกดัดแปลงมาจากสัญลักษณ์เดิมซึ่งมีแค่ A ตัวเดียว
คุณสมบัติของอาร์กอน คือ เป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ เป็นแก๊สเฉื่อยและไม่เป็นพิษ
ปัจจุบันแก๊สอาร์กอนได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม ปิโตรเลียม อุปกรณ์อิเลคโทรนิค โรงพยาบาล ฯลฯ     
ลักษณะการใช้งานอาร์กอนในอุตสาหกรรมโลหะ แก๊สอาร์กอน สามารถช่วยในการละลาย การให้ความร้อน การหลอม และการทำให้มัน สำหรับอุตสาหกรรมอาหารแก๊สอาร์กอนถูกใช้เป็นส่วนผสมในงานบรรจุภัณฑ์ เพื่อเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อคงความสดและช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์อีกด้วย แก๊สอาร์กอนยังเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมหลอดไฟ และผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสว่างต่างๆ อุตสาหกรรม LED สามารถใช้แก๊สอาร์กอนความบริสุทธิ์สูง หรือ  argon UHP เพื่อช่วยให้ หลอดLED สว่างขึ้นมากที่สุดได้  
อ้างอิงข้อมูลจาก  Wikipedia และ chemicool.com

www.sciencegas.com